อ่านหนังสือ ก่อนสอบ อย่างไร ให้จำแม่น
และทำข้อสอบได้
1. ก่อนอื่น ให้จัดเตรียมเอกสาร หนังสือ ชีท ต่างๆ สำหรับแต่ละวิชา แยกเป็นหมวดหมู่ไว้ เพื่อเวลาที่เราอ่านวิชานี้เสร็จ เราจะได้หยิบ วิชาถัดไปมาอ่านได้ทันที
2. เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม หรือเตรียมปากกา ดินสอ สำหรับจดโน๊ตช่วงที่เราอ่านหนังสือเตรียมสอบ
3. เริ่มอ่านหนังสือ จากวิชาที่จะสอบเป็นวิชาแรก อ่านและ ทำความเข้าใจ อาจจะใช้ปากกาสีต่างๆ เพืิ่อเน้นข้อความที่สำคัญๆ ถ้าวิชาไหน มีแบบตอบคำถาม ให้ทำด้วย เพื่อทบทวนความเข้าใจไปในตัว ถ้าอ่านแล้วทำไม่ได้ ให้กลับไปอ่าน แล้วทำความเข้าใจใหม่อีกครั้ง
4. เวลาอ่านหนังสือ ควรใช้เวลาที่สมองปลอดโปร่ง ไม่มี สิ่งเร้าภายนอก เช่น เสียงโทรทัศน์รบกวน เสียงเพลงดัง … และเวลาที่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือมากที่สุด นั้นคือเวลาก่อนนอน และเวลาเช้ามืด ซึ่งจะเป็นเวลาที่สมองปลอดโปร่งมากที่สุด
5. ขณะอ่านหนังสือ ควรรับประทานอาหารให้อิ่ม เพราะท้องร้องขณะอ่านหนังสือ จะทำให้ไม่มีสมาธิในการอ่าน ถ้าขณะอ่านเราไม่หิว อาจจะหาอาหารว่างมารับประทานรองท้องขณะอ่านไปด้วย อาหารว่าง เช่น ขนมปัง คุ๊กกี้ น้ำเปล่า ผลไม้ …
6. สำหรับวิชาที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อย่าเก็บความไม่เข้าใจไว้คนเดียว ลองทำไปปรึกษาครูที่ปรึกษา หรือเพื่อนๆ ว่าเข้าใจตรงกันไหม เราลืมอะไรไปรึเปล่า
7. เมื่ออ่านหนังสือแล้ว ควรมีเวลาทบทวนก่อนสอบ อย่างน้อย 1 วัน คืดวันรุ่งขึ้นก่อนสอบ นำกระดาษที่จดโน๊ตไว้ มาทบทวนอีกรอบ ว่าเรายังลืมตรงส่วนไหนไปบ้างหรือเปล่า
8. ก่อนสอบ ควรเตรียมเอกสารสำหรับการสอบให้พร้อม
9. ทำใจให้สบาย ก่อนเริ่มทำข้อสอบ อ่านเงื่อนไขในการทำข้อสอบก่อนลงมือทำทุกครั้ง เพราะข้อสอบบางฉบับ อาจจะให้กากบาทลงไปในตัวข้อสอบเลย หรือกากบาทในส่วนที่จัดให้ ให้ใช้ปากกาหรือดินสอบในการทำ ที่สำคัญ อย่าลืมเขียนชื่อตัวเอง ลงไปบนกระดาษทำตอบทุกแผ่น
10. ขณะทำข้อสอบ ข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้เว้นไว้ก่อน แล้วค่อยกลับมาทำ เพราะถ้าเราติดข้อใดข้อหนึ่ง อาจจะทำให้เราเสียเวลาไปกับข้อสอบข้อที่เราทำไม่ได้ บางทีอาจจะมีข้อที่อยู่ด้านหลัง ง่ายๆซ่อนอยู่ก็เป็นได้
11. เมื่อทำข้อสอบเสร็จ ให้พลิกดูกระดาษคำถามให้หมดทุกหน้า ว่าเราลืมทำส่วนไหนรึเปล่า ตรวจกระดาษคำตอบ ถ้ามีเวลาเหลืออีกเยอะ ให้ทบทวนคำตอบที่เราตอบไป ว่ามั่นใจแค่ไหน พยายามใช้เวลาในการทำข้อสอบ ให้คุ้มที่สุด เพราะถ้าเราออกห้องสอบไปแล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับมาทำใหม่ได้
12. หลังจากสอบเสร็จ ทำใจให้สบาย ให้คิดว่า เราทำดีที่สุด ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เราต้องรับให้ได้ และเตรียมตัวสำหรับวิชาถัดไป ที่กำลังรอเราอยู่
กินกล้วย-บ๊วยเค็ม ป้องกันเป็นลมแดด
ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือทำงานกลางแจ้ง ต้องหมั่นจิบน้ำเป็นประจำ เนื่องจากความร้อนจะทำให้ร่างกายเสียเหงื่อ ที่มีทั้งน้ำและเกลือแร่รวมอยู่ด้วย หากร่างกายขาดน้ำมากๆ อุณหภูมิภายในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น เกิดภาวะช็อกจากความร้อน หรือเป็นลมแดด ถ้าเรียกให้เป็นทางการก็คือ ‘ ฮีตสโตก ’ นั่นเอง
อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดน้ำ คือ คอแห้ง และปัสสาวะเป็นสีเข้ม หากรุนแรง มากสามารถทำให้หมดสติได้ ดังนั้น การป้องกันตนเองจากการเป็นลมแดด ก่อนที่จะออกแดด ให้จิบน้ำบ่อยๆ ช่วยให้ร่างกายดูดซับน้ำไว้ได้ดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ ที่ร่างกายจะขับออกไปกับปัสสาวะ และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย
นอกจากชดเชยด้วยการจิบน้ำแล้ว ยังต้องเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย อาจดื่มเกลือแร่ หรือถ้าไม่สะดวกให้ กินกล้วยที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม บ๊วยเค็มที่มีโซเดียม จะช่วยเติมเกลือแร่ให้ร่างกาย โดยควรกินพร้อมกับการดื่มน้ำแบบค่อยๆ จิบ
กรณีที่เป็นลมแดดไปแล้ว ให้รีบพักในที่ร่ม และประคบเย็นในบริเวณที่เส้นเลือดใหญ่ผ่าน เช่น คอ และสะโพก จากนั้นรีบไปพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุด.
อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดน้ำ คือ คอแห้ง และปัสสาวะเป็นสีเข้ม หากรุนแรง มากสามารถทำให้หมดสติได้ ดังนั้น การป้องกันตนเองจากการเป็นลมแดด ก่อนที่จะออกแดด ให้จิบน้ำบ่อยๆ ช่วยให้ร่างกายดูดซับน้ำไว้ได้ดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ ที่ร่างกายจะขับออกไปกับปัสสาวะ และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย
นอกจากชดเชยด้วยการจิบน้ำแล้ว ยังต้องเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย อาจดื่มเกลือแร่ หรือถ้าไม่สะดวกให้ กินกล้วยที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม บ๊วยเค็มที่มีโซเดียม จะช่วยเติมเกลือแร่ให้ร่างกาย โดยควรกินพร้อมกับการดื่มน้ำแบบค่อยๆ จิบ
กรณีที่เป็นลมแดดไปแล้ว ให้รีบพักในที่ร่ม และประคบเย็นในบริเวณที่เส้นเลือดใหญ่ผ่าน เช่น คอ และสะโพก จากนั้นรีบไปพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุด.
สามชุกในความทรงจำ
ถึงนามสามชุกถ้า ป่าดง
เกรี่ยงไร่ได้พ่ายลง แลกล้ำ
เรือค้าท่านั้นคง คอยเกรี่ยงเรียงเอย
รายจอดทอดท่าน้ำ นับฝ้ายขายของฯ
(นิราศเมืองสุพรรณ-สุนทรภู่-พ.ศ.2379)
ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี หลายๆคนอาจได้มีโอกาสไปเที่ยว เยี่ยมชมวิถีตลาดเก่ากันมาแล้วบ้าง เป็นตลาดห้องแถวไม้ขนาดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรีหรือที่รู้จักกันคือแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่ตลาดสามชุกได้รับรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคจากองค์การยูเนสโก ในวันที่ 11 ธันวาคม 2552 โดยเป็นหนึ่งในสี่เมืองที่พลิกฟื้นประวัติศาสตร์ชุมชนให้น่าอยู่และมีชีวิตชีวาโดยชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญจนได้ชื่อว่า “ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวา”
ผมเองไม่ได้เกิดและเติบโตในตลาดแห่งนี้ และอาจถือได้ว่าไม่ได้ผูกพันกันอะไรกันมากนัก แต่สิ่งเดียวที่ผมได้รู้จักตั้งแต่เด็กว่าเป็นตลาดที่ใหญ่และจริญมากที่สุดในย่านนั้นและยุคสมัยนั้น ผมไปงานแต่งเพื่อนที่ตลาดสามชุกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงได้เดินลัดเลาะตามซอยต่างๆ เพื่อดูว่าอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างและอาจเป็นครั้งแรกด้วยซ้ำที่ได้มาเดินตลาดแห่งนี้อย่างจริงๆจังๆ นับตั้งแต่ได้รับรางวัลเมื่อปลายปีที่ผ่านมา สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดก็คือจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากจนเบียดเสียดตามซอกซอยต่างๆ ต่างซื้อ ต่างกิน ต่างถ่ายรูปเป็นที่ระลึกตามธรรมเนียม ซึ่งผมเองก็อดไม่ได้ที่จะต้องกดชัตเตอร์เก็บภาพบรรยากาศมาด้วยเหมือนกัน
ในบางส่วนของบทความได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจที่คนในตลาดเองควรต้องฉุกคิดว่าจะดำรงวิถีเพื่อชุมชนตนเองที่อยู่มาหรือเพื่อการตลาดตอบสนองตามความต้องการของนักท่องเที่ยว
“The market risks losing its own cultural identity as many tourists do not care enough about the history, the culture or even the architecture of the market.”
“Most of the tourists come here to shop. Only a few of them are really interested in our culture and way of life.
“We’re afraid the economic gains may have hidden the appeal of the cultural heritage the market has to offer. The appeal will one day vanish altogether”.
หากทฤษฎีของความเจริญรุ่งเรืองของสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีช่วงระยะเวลาหรือที่เรียกว่าไซเคิล ผมก็ไม่รู้ว่าวันนี้คือจุดใดซึ่งอาจเป็นช่วงกำลังขึ้นหรืออาจเป็นระดับสูงสุดและหากเป็นเช่นนั้นก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกไม่นานก็คงเป็นคราวลง ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นชุมชนแห่งนี้จะเป็นอย่างไร?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น